หน้าหลัก > ข่าว > ข่าวกิจกรรม > วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์

ผู้ดูแลเว็บ วิทยาลัยโลจิสติก
2025-02-08 15:38:54

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิริยา บุญมาเลิศ รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ อาจารย์ ดร.สันติพงศ์ จิโรจน์กุลกิจ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มะโน ปราชญาพิพัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาธุรกิจและจัดหารายได้ และประธานโครงการภาคพิเศษและโครงการความร่วมมือ อาจารย์ ดร.ศรีศรินทร์ นรเศรษฐโสภณ พร้อมด้วยคณาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ระบบการศึกษาทางไกล) และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยฯ ได้รับมอบหมายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชณิชา หมอยาดี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ให้เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและการฝึกอบรมในสาขาโลจิสติกส์

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นผ่าน โปรแกรม Zoom โดยมี คุณรังสิทธิ์ สำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาระบบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมชี้แจงแนวทางการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายและการขยายผลการใช้ Credit Bank (ระบบธนาคารหน่วยกิต)

การประชุมยังได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้มีมาตรฐานและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในยุคปัจจุบัน